เมนู

ก็พึงถือเอานิมิตทั้งหลาย นำกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เห็นเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

ว่าด้วยเขตแดน และอารมณ์ของอกุศลวิตก


พึงทราบเขตแดน และ อารมณ์ของวิตกเหล่านี้ คือ :-
วิตกที่ประกอบด้วย ฉันทะ
วิตกที่สหรคตด้วย ฉันทะ
วิตกที่สัมปยุตด้วย ราคะ
ในสามอย่างนั้น จิตอันสหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง เป็นเขตแดนของ
วิตกที่ประกอบด้วยฉันทะ จิตที่สหรคตด้วยโทสะ 2 ดวง เป็นเขตแดนของ
วิตกที่ประกอบด้วยโทสะ อกุศลจิต 12 ดวง เป็นเขตแดนของวิตกที่ประกอบ
ด้วยโมหะ. แต่ว่าจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นเขตแดนเฉพาะ
บุคคลผู้มีวิตกอันสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเท่านั้น. สัตว์ทั้งหลายและ
สังขารทั้งหลาย แม้ทั้งหมด ก็เป็นอารมณ์ของวิตกได้ทั้งนั้น เพราะว่า เมื่อ
ภิกษุไม่เพ่งดูอารมณ์ที่ชอบและที่ไม่ชอบแล้ว วิตกในสัตว์และสังขารเหล่านั้น
ก็ไม่เกิดขึ้น.

ว่าด้วยมนสิการนิมิตอื่น ๆ


คำว่า ภิกษุนั้น ควรมนสิการนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศล
ได้แก่ ควรมนสิการนิมิตอันอาศัยกุศลอื่น โดยเว้นจากอกุศลนิมิตนั้น.
ในข้อนั้น ชื่อว่า นิมิตอื่น คือเมื่อวิตกประถอบด้วยฉันทะเกิดขึ้นใน
สัตว์ทั้งหลาย การเจริญอสุภะ (อสุภสัญญา) ชื่อว่า นิมิตอื่น เมื่อวิตกเกิด
ขึ้นพอใจในสังขารทั้งหลาย (มีจีวรเป็นต้น ) มนสิการถึงความเป็นของไม่เที่ยง
(อนิจจสัญญา) ชื่อว่า นิมิตอื่น. ก็เมื่อวิตกประกอบด้วยโทสะในสัตว์ทั้งหลาย
เกิดขึ้น การเจริญเมตตา ชื่อว่า นิมิตอื่น. เมื่อวิตกในสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น

การมนสิการถึงธาตุ ชื่อว่า นิมิตอื่น. เมื่อวิตกประกอบด้วยโมหะเกิดขึ้นใน
ธรรมใด ภิกษุอาศัยธรรม 5 อย่าง ชื่อว่า นิมิตอื่น.
อธิบายว่า เมื่อโลภะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลายโดยนัย มีคำว่า มือ หรือ
เท้าของผู้นี้งาม ดังเป็นต้น เธอก็นำมาพิจารณาด้วยอสุภะ คือสิ่งที่ไม่งามว่า
ท่านยินดีกำหนัดในอะไร ในผมทั้งหลายหรือ หรือว่าในขนทั้งหลาย ฯลฯ
หรือว่าในน้ำมูตร ธรรมดาว่า อัตตภาพนี้ประกอบขึ้นด้วยกระดูก 300 ท่อน
ยกขึ้นผูกไว้ด้วยเอ็น 900 เส้น ฉาบทาด้วยชิ้นเนื้อ 900 ชิ้น หุ่มห่อด้วย
หนังสด อันความยินดีพอใจในผิวปกปิดไว้แล้ว อนึ่งเล่า ของไม่สะอาดทั้ง
หลาย ย่อมไหลออกจากปากแผลทั้ง 9 (ทวาร 9) และจากขุมขนประมาณ
99,000 ขุม มีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ เป็นของปฎิกูล
อันสะสมไว้ซึ่งสิ่งปฏิกูล 32 ประการ จะหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร หรือสิ่งที่ประ-
เสริฐในกายนี้มิได้มี เมื่อพระโยคีนำความงามออกด้วยอสุภะอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว ย่อมละความโลภที่เกิดในสัตว์ทั้งหลายได้ เพราะเหตุนั้น
การนำความงามออกได้ด้วยอสุภะนี้ จึงชื่อว่า นิมิตอื่น. เมื่อความโลภเกิดขึ้น
ในบริขารทั้งหลายมีบาตรและจีวรเป็นต้น ก็มนสิการด้วยสามารถแห่งการ
พิจารณาถึงความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ และเป็นของชั่วคราว โดยนัยที่กล่าว
ไว้ในสติปัฏฐานวรรณนาว่า ภิกษุย่อมวางเฉยในสังขารทั้งหลายมีบาตรและจีวร
เป็นต้น ด้วยอาการ 2 อย่าง คือโดยความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของโดยแท้จริง
และเป็นของชั่วคราว เธอก็ย่อมละความโลภนั้นได้. เพราะเหตุนั้น การ
มนสิการโดยอาการ 2 อย่างในสังขารนั้น จึงชื่อว่า นิมิตอื่น.
เมื่อโทสะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย พระโยคีพึงเจริญเมตตาด้วยสามารถ
แห่งสูตรทั้งหลายที่นำความอาฆาตออกมีกกโจปมสูตรเป็นต้น เมื่อเจริญเมตตา
อยู่ ก็ย่อมละโทสะนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น การเจริญเมตตานั้น จึงชื่อว่า นิมิตอื่น.

เมื่อโทสะเกิดขึ้นในเพราะวัตถุทั้งหลายมีการกระทบกับตอ หนาม ใบไม้ที่
แหลมคมเป็นต้น เธอก็พึงมนสิการถึงธาตุโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านย่อมโกรธ
ใคร ย่อมโกรธปฐวีธาตุหรือ หรือว่าอาโปธาตุเป็นต้น เมื่อมนสิการธาตุอยู่
อย่างนี้ เธอย่อมละโทสะได้ เพราะเหตุนั้น การมนสิการถึงธาตุอยู่ จึงชื่อว่า
นิมิตอื่น.
เมื่อโมหะเกิดขึ้นในธรรมใด เธออาศัยธรรม 5 เหล่านี้ คือ
1. การอยู่ร่วมกับครู
2. การเรียนธรรม (อุทเทส)
3. การสอบถามธรรม
4. การฟังธรรมตามกาลอันควร
5. การวินิจฉัยธรรมที่เป็นฐานะและอฐานะ
ก็ย่อมละโมหะได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอาศัยธรรม 5 เหล่านี้.
เพราะว่า เมื่อเธออาศัยอาจารย์ผู้ควรแก่การเคารพ อาจารย์ย่อมลงทัณฑกรรม
แก่เธอมีการให้ตักน้ำสักร้อยหม้อ เพราะไม่ถามถึงการเข้าสู่บ้าน หรือไม่ทำวัตร
ในกาลอันควรเป็นต้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้อันอาจารย์พยายามตกแต่งแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.
แม้เมื่อเรียนธรรม (อุทเทส) อาจารย์ย่อมลงทัณฑกรรมแก่เธอผู้ไม่
เรียนในเวลาอันสมควร หรือสาธยายไม่ดี หรือไม่สาธยาย เป็นต้น เธอย่อม
เป็นผู้อันอาจารย์พยายามตกแต่งแล้ว แม้เช่นนี้ เธอก็ย่อมละโมหะธรรมนั้น
ได้.
ภิกษุเข้าไปหาภิกษุผู้ควรเคารพแล้ว สอบถามว่า ท่านขอรับ ข้อนี้
เป็นอย่างไร อรรถของธรรมนี้เป็นอย่างไร เป็นต้น เธอย่อมกำจัดความสงสัย
ได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.

แม้เมื่อภิกษุไปสู่ที่เป็นที่ฟังธรรมดามกาลเวลาอันควร ฟังอยู่โดยเคารพ
อรรถธรรมในที่นั้น ๆ ย่อมจะแจ่มแจ้งแก่เธอ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็
ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.
บุคคลผู้ฉลาดในการวินิจฉัยในสิ่งที่เป็นฐาน คือสิ่งที่เป็นไปได้ และ
อฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ว่า นี้เป็นเหตุของสิ่งนี้ นี้ไม่ใช่เหตุของสิ่งนี้
ดังนี้เป็นต้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้. เพราะ
เหตุนั้น การอาศัยธรรม 5 ของเธอนั้น จึงชื่อว่า เป็นนิมิตอื่น.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน 38 เธอ
ย่อมละอกุศลวิตกเหล่านี้ได้ เพราะนิมิต 5 ที่มีลักษณะอย่างนี้ เป็นข้าศึกและ
ปฎิปักษ์โดยตรงต่อกิเลสทั้งหลายนีราคะเป็นต้น กิเลสที่มีราคะเป็นต้นที่ละได้
ด้วยนิมิต 5 เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นการละอย่างดี. เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ดับไฟ
โดยใช้ไม้สดโบยบ้าง ฝุ่นบ้าง กิ่งไม้อื่น ๆ บ้าง ย่อมทำให้ดับ แต่น้ำซึ่ง
เป็นข้าศึกโดยตรงของไฟ เมื่อเขาดับไฟด้วยน้ำซึ่งเป็นข้าศึกโดยตรง ย่อมเป็น
การดับดีแล้ว ฉันใด กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่ละได้ด้วยนิมิต 5 เหล่านี้
ชื่อว่า เป็นการละอย่างดี ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบคำเหล่านี้
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
บทว่า กุสลูปสญฺหิตํ คือว่า อาศัยกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล.
บทว่า อชฺฌตฺตเมว คือว่า เป็นอารมณ์ภายนั่นแล.
บทว่า ปลคณฺโฑ แปลว่า นายช่างไม้.
บทว่า สุขุมาย อาณิยา ความว่า นายช่างไม้ หรือลูกมือของ
นายช่างไม้ผู้ฉลาดต้องการจะนำลิ่มอันใดออก ก็ตอกด้วยลิ่มไม้อันแข็งกว่าลิ่ม
อันนั้นเข้าไป.

บทว่า โอฬาริกํ อาณึ ได้แก่ สิ่มที่ไม่เสมอกันที่นายช่างตอกเข้า
ไปในแผ่นกระดานไม้จันทน์ หรือกระดานไม้เนื้อแข็ง.
บทว่า อภิหเนยฺย คือว่า เมื่อตอกด้วยไม้ค้อนแล้วก็นำออกมา.
บทว่า อภินีหเนยฺย คือว่า เมื่อโยกอยู่อย่างนั้น ก็พึงนำลิ่มออก
จากแผ่นกระดานได้.
บทว่า อภินิวฏฺเฎยฺย ความว่า บัดนี้ เมื่อนายช่างรู้ว่าลิ่มเป็นอัน
มากเหล่านี้เขยื้อนออกแล้ว จึงเอามือจับคลอนไปมาแล้วดึงออก.
บัณฑิตพึงทราบความในที่นี้ว่า จิตเหมือนแผ่นกระดาน. อกุศลวิตก
เปรียบเหมือนลิ่มที่ทำให้แผ่นกระดานไม่เสมอกัน. กุศลนิมิตมีการเจริญอสุภะ
คือความไม่งามเป็นต้นเปรียบเหมือนลิ่มเล็ก. การนำอกุศลวิตกเหล่านั้นออก
ด้วยกุศลนิมิตทั้งหลายมีการเจริญอสุภะเป็นต้น เปรียบเหมือน การตอก โยก
ถอนลิ่มใหญ่ออกได้ด้วยลิ่มอันเล็กที่แข็งกว่าฉะนั้น.
บทว่า อหิกุณเปน เป็นอาทิ แปลว่า ซากงูเป็นต้นนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงถึงซากศพทั้งหลายว่าล้วนเป็นของปฏิกูล น่า
รังเกียจอย่างยิ่ง.
บทว่า กณฺเฐ อาลคฺเคน คือว่า นำเอาซากศพ ที่ใดที่หนึ่งซึ่ง
หาประโยชน์มิได้มาผูก คือมาสวมใส่ไว้ที่คอ.
บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ ความละอาย.
บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย คือว่า พึงรังเกียจอันเกิดขึ้นเอง.
บทว่า ปหียนฺติ ความว่า เมื่อเธอรังเกียจด้วยเหตุแม้นี้แล้ว ใคร่
ครวญด้วยกำลังปัญญาของตนว่า อกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก
ก็จะละเสียได้ เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม รังเกียจซากงูเป็นต้น

ฉะนั้น. ก็เมื่อภิกษุใด ไม่อาจเพื่อจะใคร่ครวญด้วยกำลังปัญญาของตนได้
เธอพึงเข้าไปหาอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ควรแก่การเคารพ
หรือพระสังฆเถระ รูปใดรูปหนึ่ง แล้วตีระฆังให้ภิกษุมาประชุมกันบอกให้ทราบ
ถึงเหตุนั้น เพราะว่ามนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งจักมีในที่ประชุมนั้น ก็บัณฑิต
นี้จักบอกว่า ท่านพึงเห็นโทษในอกุศลวิตกอย่างนี้ ๆ หรือว่า จักข่มอกุศลวิตก
เหล่านั้น ด้วยกถาทั้งหลาย มีกายวิจฉินทนียกถาเป็นต้น.
บทว่า อสติมนสิกาโร อาปชฺชิตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุนั้นไม่พึง
นึก ไม่พึงใส่ใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น พึงเป็นผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๆ
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประสงค์จะเห็นรูป พึงหลับตาทั้งสอง ฉันใด ภิกษุผู้ถือมูล
กรรมฐานมานั่งแล้ว เมื่อวิตกเกิดขึ้นในจิต ก็พึงเป็นผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น
ฉันนั้น. ภิกษุนั้น ย่อมละอกุศลวิตกได้ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อเธอประสงค์จะ
ละก็พึงถือเอากรรมฐานมาแล้วนั่งลงเถิด. ก็ถ้าเธอยังละไม่ได้ ก็ควรสาธยาย
พระบาลีธรรมกถาที่เรียนมาด้วยเสียงอันดัง. ถ้าเธอใส่ใจไปในอารมณ์อื่นอย่าง
นี้ยังละไม่ได้ ก็จงหยิบสมุดเปล่าออกจากย่ามเขียนพรรณนาความดีของพระ-
พุทธเจ้าข้อใดข้องหนึ่ง เธอพึงเป็นผู้นำอกุศลวิตกนั้นออกด้วยการส่งใจไปใน
อารมณ์อื่น อย่างนี้.
ถ้าแม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกนั้นไม่ได้ ก็พึงหยิบไม้สี
ไฟออกมาจากย่ามแล้วพิจารณา หรือส่งใจไปในอารมณ์อื่นว่า นี้ไม้สีไฟอันบน
นี้ไม้สีไฟอันล่าง ดังนี้. ถ้าอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกไม่ได้ ก็พึงเอากล่อง
เล็กออกมารวมบริขารไว้ หรือส่งใจไปในอารมณ์อื่นว่า อันนี้ ชื่อว่า กล่องเข็ม
อันนี้ ชื่อว่า มีดเล็ก อันนี้ ชื่อว่า เครื่องตัดเล็บ อันนี้ ชื่อว่า เข็ม เป็นต้น
เธอก็จะพึงละอกุศลวิตกนั้นได้. ถ้าอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกนั้นไม่ได้พึงหยิบ
เอาเข็มมาเย็บจีวรที่ขาด เพื่อส่งใจไปในอารมณ์อื่น ตราบใดที่เธอยังละอกุศล

วิตกไม่ได้ ก็พึงส่งใจไปในอารมณ์อื่น โดยการทำกุศลกรรมนั้น ๆ ก็เมื่อเธอ
ละอกุศลวิตกได้แล้ว ก็พึงถือเอามูลกรรมฐานมานั่งลง ไม่พึงเป็นผู้เริ่มนว-
กรรม (การก่อสร้าง).
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะว่า เธอทำลายอกุศลวิตกยังไม่ได้ ก็ไม่มีโอกาสมน-
สิการกรรมฐานได้. แม้บัณฑิตในกาลก่อนจะทำนวกรรม ก็ต้องทำลายอกุศล
จิตก่อน. ในข้อนี้นั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้.-

เรื่องติสสสามเณร


ได้ยินว่า พระอุปัชฌาย์ของสามเณรอาศัยอยู่ในมหาวิหารชื่อว่า ติสสะ
สามเณรกล่าวกับท่านอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ กระผมกระวนกระวาย (อยาก
ลาสิกขาบท). ครั้งนั้น พระเถระได้กล่าวกะสามเณรว่า ในวิหารนี้หาน้ำ
อาบได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต. สามเณรได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะสามเณรในที่นั้นว่า วิหารนี้เป็นของเฉพาะสงฆ์
เธอจงทำ (สร้างที่อยู่ใหม่) ให้เป็นที่อาศัยอยู่เฉพาะบุคคลคนหนึ่ง. สามเณร
รับคำว่า ดีแล้วขอรับ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อม ๆ กัน คือ การ
เรียนคัมภีร์สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเชา และการบริกรรม
เตโชกสิณและได้ยังกรรมฐานนั้นให้ถึงอัปปนา ยังการเรียนสังยุตตนิกายให้
จบลงแล้วเริ่มนวกรรมในถ้ำ เธอได้ทำกิจนวกรรมทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงได้
แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ. พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล
คนหนึ่งเธอทำสำเร็จในวันนี้ได้โดยลำบาก เธอนั่นแหละจงอยู่ ดังนี้.
สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนา
ให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานแล้วในถ้ำนั้นนั่นแหละ. ชนทั้ง